ส่งงานPowerPoint
ครู คือผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา
ครู
คือ ผู้ที่จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พ้นจากความมืด คือ
ความไม่รู้ โดยพยายามประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง
ฉะนั้น ครูที่แท้จริงคือ ผู้ให้สำหรับศิษย์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
ทั้งนี้เพราะหัวใจและวิญญาณของครูบรรลุสิ่ง 3 ประการ คือ ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์
ครูกับอาจารย์ต่างกันอย่างไร
มีหลายคนสงสัยว่า "ครู"กับ"อาจารย์" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
และทำหน้าที่เป็นเช่นไร
ครู เป็นชื่อที่เรียกแทน ผู้ที่สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อนุบาล-ม.6) มีลักษณะถึงความใกล้ชิดกับศิษย์มีลักษณะการเรียนการสอนที่แสดงถึงความห่วงหาอาทรกับศิษย์
อาจารย์ เป็นชื่อที่เรียกผู้สอนในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
เป็นคำที่หมายรวมถึงคณาจารย์ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ฟังดูแล้วอาจารย์จะเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาเฉพาะด้าน มีความเชี่ยวชาญเป็นด้านๆหรือแต่ละสาขาวิชา
คุณธรรมความเป็นครู
คุณธรรม
ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู
ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ
จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ
คุณลักษณะที่ดีของครู
๑. ครูต้องมีลักษณะบากบั่น ต่อสู้ อดทน สร้างคนให้เป็นคนดีให้ได้
๒.
ครูต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกด้าน ให้สมกับที่คนยกย่องนับถือว่ามีใจประเสริฐ
๓.
ครูต้องงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง เช่น การดื่มเหล้า เล่นการพนัน
๔.
ครูต้องเป็นคนมีน้ำใจสะอาด
มีความเสียสละมากไม่จำเป็นต้องมีปริญญาการศึกษาสูงเสมอไป ขอเพียงแต่มีความจริงใจ
มีใจรักในความเป็นครู
๕.
ครูควรให้เวลาแก่เด็กนักเรียน ในการที่จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ
และฟังความคิดเห็นของเด็กบ้า
๖. ครูควรทำตัวให้ดี มีนิสัยดี
เพื่อลบล้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับครูตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนต่าง ๆ
๗. ครูไม่ควรถือตัว ควรเข้ากับทุกคนแม้จะเป็นคนยากจนก็ตาม
๘.
ครูควรมีลักษณะพร้อมที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้ ความคิดและเป็นคนดี
๙.
ครูต้องเป็นคนสามารถสร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติเป็นอันดับแรก ดังนั้น
ครูต้องขยันอย่างน้อยให้ใกล้เคียงกับคนที่ทำงานธนาคาร
๑๐. ในด้านความรู้
ชาวบ้านมีความศรัทธาว่า ครูมีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ครู
ควรจะมีให้มากคือด้านความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ครู คือผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา
ครู
คือ ผู้ที่จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พ้นจากความมืด คือ
ความไม่รู้ โดยพยายามประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง
ฉะนั้น ครูที่แท้จริงคือ ผู้ให้สำหรับศิษย์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
ทั้งนี้เพราะหัวใจและวิญญาณของครูบรรลุสิ่ง 3 ประการ คือ ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์
ดังนั้นการพัฒนาการศึกษา
จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวคงมิได้ ต้องพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาประเทศ ฉะนั้น ครูต้องมีบทบาททางการศึกษา
ในการสร้างและพัฒนา ความรู้ ความคิด ความประพฤติ
และคุณธรรมของบุคคลในสังคมที่ดีแก่เยาวชน เพื่อที่จะนำความรู้ ความคิด
ไปใช้ปฏิบัติงานในการดำรงชีวิต ด้วยความเจริญ
สร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมและบ้านเมือง
ครูต้องเสียสละ อดทน ต่ออุปสรรค
ให้การศึกษา ให้คำแนะนำ และส่งเสริมบุคคลให้มีความเจริญงอกงามในการเรียนรู้ต่อเยาวชน
ด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ
ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู
ต้องไม่หยุดเรียนรู้ หาก “ หยุด ” เรียนรู้
ก็คงไม่ต่างจากการหมดคุณค่าของความเป็นครู
ครูทุกท่านควรน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับบทบาทของครู ความว่า
" ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องมีความยุติธรรม ต้องหนักแน่นครูฝึกฝนอบรมให้เป็นนักเรียนที่ดี มีระเบียบ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักทำตนให้ตรงต่อเวลา รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติส่วนตัวและส่วนรวม ครูต่างทำตัวให้เป็นครูที่น่าเคารพแม้จะฝืดเคืองก็กัดฟัดสอนและแจกจ่ายความรู้ออกไป ครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อ ประโยชน์ของชาติ "
ครูทุกท่านควรน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับบทบาทของครู ความว่า
" ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องมีความยุติธรรม ต้องหนักแน่นครูฝึกฝนอบรมให้เป็นนักเรียนที่ดี มีระเบียบ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักทำตนให้ตรงต่อเวลา รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติส่วนตัวและส่วนรวม ครูต่างทำตัวให้เป็นครูที่น่าเคารพแม้จะฝืดเคืองก็กัดฟัดสอนและแจกจ่ายความรู้ออกไป ครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อ ประโยชน์ของชาติ "
” ดังนั้นครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า
และอยู่รอดปลอดภัย ครูเป็นผู้ให้ความหวัง
ครูเป็นพลังให้แก่ศิษย์เป็นคนดี ”
ครูกับอาจารย์ต่างกันอย่างไร
มีหลายคนสงสัยว่า "ครู"กับ"อาจารย์" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และทำหน้าที่เป็นเช่นไร
เผื่อเวลาจะเรียกขานนามจะได้เรียกให้ถูก ไม่เขิน เจ้าตัวก็ทำตัวถูก(ไม่ตัวลอย
หรือตัวลีบพึมพำตามหลัง) ก็เลยอยากอธิบายไว้พอสังเขป
เมื่อ
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ได้ประกาศใช้ทำให้คำว่า"ครู"และคำว่า
"อาจารย์"ถูกเรียกแทนตำแหน่งต่างกันดังนี้
"ครู" เป็นชื่อที่เรียกแทน
ผู้ที่สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อนุบาล-ม.6) โดยมีตั้งแต่
ครูผู้ช่วย ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
แล้วแต่วิทยฐานะที่ได้รับ และคำว่าครูฟังแล้วเป็นคำดั้งเดิมที่เรียกต่อๆกันมา
มีลักษณะถึงความใกล้ชิดกับศิษย์มีลักษณะการเรียนการสอนที่แสดงถึงความห่วงหาอาทรกับศิษย์
ทั้งนี้มีคำใกล้เคียงที่เคยเรียก เช่น พ่อครู แม่ครู ครูหมอ เป็นต้น
อาจารย์ เป็นชื่อที่เรียกผู้สอนในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
เป็นคำที่หมายรวมถึงคณาจารย์ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ฟังดูแล้วอาจารย์จะเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาเฉพาะด้าน
มีความเชี่ยวชาญเป็นด้านๆหรือแต่ละสาขาวิชา ทั้งนี้อาจเรียกอาจารย์
และเรียกกับผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
หรือศาสตราจารย์ ที่เชี่ยวชาญและมีผลงานทางวิชาการด้วย
และคำนี้ฟังดูแล้วจะศรัทธาในความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆและนำแนวคิดหรือข้อค้นพบที่บุคคลเหล่านั้นคิดขึ้นมาใช้อ้างอิงในการดำเนินชีวิต
การทำงาน หรือการปฏิบัติตน
แต่...สิ่งที่สองตำแหน่งนี้มีเหมือนกัน
คือ การสอ
นใหคุณธรรม
มีความรู้ มีทักษะชีวิตในการที่จะนำสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว
สังคม และประเทศชาติ
ความเป็นครู
ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า
หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู
จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น
หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี
เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ
และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล
เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา
รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”การสอนคนก็เช่นเดียวกัน
การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ
และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ
ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว
หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา
หรือข้าศึกในการรบได้ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่
ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือ อย่าง
ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ
แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน
และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย
ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้
ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า “ความหมายของครูตามรูปแบบ”
ที่
ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป
อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย
ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด
ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
ตัวอย่าง
ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี
๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒)
กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓)
กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย
หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
บทบาทหน้าที่ของครูตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๙ : ๒๔๒-๒๕๓)
ได้กล่าวถึงบทบาทของครูไว้ว่า
๑. บทบาทของครู
ครู คือผู้นำทางวิญญาณ
ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง
คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง
คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ
การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง
คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด
รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว
ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต
โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ
สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ
สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ
โอตตัปปะ
๓.
หน้าที่ของครู
หน้าที่ ของครู
คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์
การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง
การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม
เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง
ใจสว่าง และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์
ทั้งต่อตนเองและสังคม
คุณลักษณะที่ดีของครู
๑.
ครูต้องมีลักษณะบากบั่น ต่อสู้ อดทน สร้างคนให้เป็นคนดีให้ได้
๒. ครูต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกด้าน
ให้สมกับที่คนยกย่องนับถือว่ามีใจประเสริฐ
๓. ครูต้องงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง เช่น การดื่มเหล้า เล่นการพนัน
๔. ครูต้องเป็นคนมีน้ำใจสะอาด
มีความเสียสละมากไม่จำเป็นต้องมีปริญญาการศึกษาสูงเสมอไป ขอเพียงแต่มีความจริงใจ
มีใจรักในความเป็นครู
๕. ครูควรให้เวลาแก่เด็กนักเรียน ในการที่จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ
และฟังความคิดเห็นของเด็กบ้าง
๖. ครูควรทำตัวให้ดี มีนิสัยดี
เพื่อลบล้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับครูตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนต่าง ๆ
๗. ครูไม่ควรถือตัว ควรเข้ากับทุกคนแม้จะเป็นคนยากจนก็ตาม
๘. ครูควรมีลักษณะพร้อมที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้
ความคิดและเป็นคนดี
๙.
ครูต้องเป็นคนสามารถสร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติเป็นอันดับแรก ดังนั้น
ครูต้องขยันอย่างน้อยให้ใกล้เคียงกับคนที่ทำงานธนาคาร
๑๐. ในด้านความรู้ ชาวบ้านมีความศรัทธาว่า
ครูมีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ครู
ควรจะมีให้มากคือด้านความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี
มีตัวหนังสือที่น่าอ่านมากเล่นสีสันที่สวยงามอ่านแล้วรู้สูกไม่งงกับแต่ละหัวข้อเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ ศึกษาค้นคว้าได้ง่ายเพราะว่ามีการแบง่หัวข้อชัดเจน ตัวหนังสือสีสันสวยพื้นหลังและสีเป็นการผสมผสานได้ดีเป็นที่สนใจให้กับผู้อ่าน
ตอบลบ